หม่อมครูอึ่ง หสิตะเสน

หม่อมครูอึ่ง หสิตะเสน

(สันนิษฐานว่าเป็นเจ้าจอมในกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ ในรัชกาลที่ 5) หม่อมครูอึ่ง หสิตะเสน หรือ เจ้าจอมอึ่ง เป็นผู้วางรากฐานท่ารำตัวละครพระทั้งหมด ของคณะละครวังสวนกุหลาบ เดิมเป็นนางละครใน “เจ้าคุณจอมมารดาเอม” ในรัชกาลที่ 2(พระมารดากรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ) สอนคู่กับหม่อมครูนุ่ม นวรัตน์ ณ อยุธยา เป็นผู้มีความสามารถสูงส่งในการร่ายรำบทบาท ตัวละครพระ ถ่ายทอดท่ารำเพลงหน้าพาทย์ต่างๆ ท่ารำเฉพาะบทบาท และท่ารำฉุยฉายของ ตัวพระ ท่ารำบทบาทพระเอก พระรอง และอื่นๆ

Continue reading “หม่อมครูอึ่ง หสิตะเสน”

หม่อมครูนุ่ม นวรัตน์ ณ อยุธยา

หม่อมครูนุ่ม นวรัตน์ ณ อยุธยา

หม่อมครูนุ่ม เป็นหม่อมในพระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นสถิตธำรงสวัสดิ์ เป็นนางละครในเจ้าคุณจอมมารดาเอม ในรัชกาลที่ 5 หม่อมครูนุ่มเป็นผู้วางรากฐาน และเป็นผู้ถ่ายทอดท่ารำละคร “ตัวนาง” ทั้งหมดของคณะละครวังสวนกุหลาบ ท่ารำเฉพาะบทบาท และท่ารำเพลงหน้าพาทย์ที่สำคัญของตัวละครนางเอก และนางรอง วิชาความรู้จาก หม่อมครูนุ่ม นวรัตน์ ณ อยุธยา ที่ตกทอดมาถึงคนไทย และหลักสูตรการเรียนการสอนวิทยาลัยนาฏศิลป 12 แห่งทั่วประเทศ Continue reading “หม่อมครูนุ่ม นวรัตน์ ณ อยุธยา”

ครูลมุล ยมะคุปต์

ครูลมุล ยมะคุปต์

ลมุล เป็นธิดาของ ร้อยโทนายแพทย์จีน กับนางคำมอย อัญธัญภาติ(เชื้อ อินต๊ะ) เกิดวันที่ ๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๔๘ ณ จังหวัดน่าน ในขณะที่บิดาขึ้นไปราชการสงครามปราบกบฏ(กบฏเงี้ยว พ.ศ. ๒๔๔๕) ลมุลมีพี่น้องร่วมบิดา-มารดาทั้งสิ้น ๘ คน

เมื่ออายุ ๕ ขวบเข้าเรียนวิชาสามัญ ณ โรงเรียนสตรีวิทยา เรียนได้เพียงปีเดียวบิดาก็นำไปถวายตัวที่วังสวนกุหลาบ ลมุลอยู่ในความดูแลของคุณท้าวนารีวรคณารักษ์ (แจ่ม ไกรฤกษ์) เมื่ออายุ ๖ขวบได้รับการถ่ายทอดวิชาความรู้ด้านละครรำจาก หม่อมครูแย้มละครในสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ถ่ายทอดบทบาทของตัวเอกด้านละครใน เช่น อิเหนา หย้าหรัน เป็นต้น  Continue reading “ครูลมุล ยมะคุปต์”

ครูมัลลี (หมัน) คงประภัศร์

ครูมัลลี  (หมัน)  คงประภัศร์

มัลลี (หมัน) คงประภัศร์  มีนามเดิมว่า “ปุย” เป็นบุตรีคนที่ ๓ ของนายกุกและนางนวม ช้างแก้ว เกิดเมื่อวันที่ ๒๐ มกราคม พ.ศ. ๒๔๒๖ มีภูมิลำเนาอยู่ที่บ้านปากคลองวัดรั้วเหล็ก (ปัจจุบันคือวัดประยุรวงศาวาส) อำเภอบางกอกใหญ่ จังหวัดธนบุรี

เมื่อเด็กหญิงปุยอายุ ๘ ขวบบิดาก็สียชีวิต นางนวมผู้เป็นมารดาจึงได้สมัครเข้ารับราชการเป็นพนักงานประจำห้องเสวยของพระองค์เจ้าสุริยวงศ์ฯได้พาเด็กหญิงปุยไปอยู่ด้วย เด็กหญิงปุยได้มีโอกาสชมละครรำของพระองค์เจ้าวัชรีวงศ์ฯ ที่เข้าไปแสดงประจำในวังหลวง จึงมีความหลงไหลพอใจในบทบาทของตัวละครมากจนถึงกับแอบหนีมารดาติดตามคณะละครเจ้าขาวไป ได้รับการฝึกสอนจาก “หม่อมแม่เป้า” ครูละครคนสำคัญของวังเจ้าขาว แม้มารดาจะมารับตัวกลับ แต่เด็กหญิงปุยก็ไม่ยอมขออยู่หัดละครให้ได้จนมารดายอมแพ้  ให้หัดละครอยู่ในวังเจ้าขาว (ปัจจุบันคือโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย) Continue reading “ครูมัลลี (หมัน) คงประภัศร์”

ครูจำเรียง พุธประดับ

ครูจำเรียง  พุธประดับ

จำเรียง  พุธประดับ  เกิดเมื่อวันที่ ๑๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๕๙ ณ ตำบลท่าทราย อำเภอกระซง จังหวัดเพชรบุรี บิดาชื่อนายเปี่ยม มารดาชื่อนางเจิม จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาจากโรงเรียนประจำจังหวัดเพชรบุรี เมื่อพ.ศ. ๒๔๗๓ ขณะนั้นอายุเพียง ๑๓ ขวบ ได้เห็นการฝึกหัดโขนหลวง ละครหลวง ณ เรือนไทยในวังสวนกุหลาบ  จนเกิดความสนใจในศิลปะประเภทนี้ ครูจำเรียงจึงขออนุญาตบิดามารดาเข้ารับการฝึกหัดละครโดยไม่ยอมศึกษาวิชาสามัญต่อไป

ครูจำเรียงได้เข้ารับราชการในกรมปี่พาทย์หลวง กระทรวงวัง และได้รับการคัดเลือกให้ฝึกหัดละครนาง โดยเป็นศิษย์ในความปกครองของเจ้าจอมมารดาสาย และคุณจุไร สุวรรณทัต เมื่อได้รับการฝึกหัดเป็นอย่างดีแล้ว  ครูจำเรียงก็ได้รับการคัดเลือกให้แสดงเป็นตัวนางทั้งละครในและละครนอก ต่อมาจึงได้รับโอกาสฝึกหัดนาฏศิลป์เพิ่มเติมโดยมีหม่อมครูต่วน ครูแปลก และแม่ครูอึ่ง เป็นครูผู้สอน จากนั้นก็ย้ายไปฝึกหัดต่อที่ท้ายวัง Continue reading “ครูจำเรียง พุธประดับ”

มุมแลกลิงค์จ้า

ใครสนใจแลกลิงค์กับทางช่างรำเชิญได้เลยนะค๊าาาา
ทางเรายินดีแลกคะร่วมด้วยช่วยกัน รวมกันเราอยู่น๊า อิอิ
รายชื่อเวปที่แลกกันทางช่างรำ

 
ลงประกาศฟรี(สินค้าขายดี)
เวปไซต์สำเร็จรูปที่ใช้งานง่ายที่สุด
Clara Plus
ลงประกาศฟรี(boardshopping)
เที่ยวเมืองไทย รับทำเว็บ รับลงโฆษณา

หม่อมครูต่วน (ศุภลักษณ์) ภัทรนาวิก

หม่อมครูต่วน  (ศุภลักษณ์)  ภัทรนาวิก

นางศุภลักษณ์  ภัทรนาวิก  ชื่อเดิม  ต่วน  เกิดวันพฤหัสบดีขึ้น ๑ ค่ำเดือน ๘  ปีมะแม ตรงกับวันที่ ๕ กรกฏาคม พ.ศ.  ๒๔๖๒ ณ บ้านเหนือ วัดทองธรรมชาติ อำเภอคลองสาน ฝั่งธนบุรี บิดาชื่อนายกลั่น ภัทรนาวิก ซึ่งเป็นบุตรพระยา ภักดีภัทรากร (จ๋อง ภัทรนาวิก) มารดาชื่อลำไย  เป็นชาวพระนครศรีอยุธยา

นางศุภลักษณ์ ภัทรนาวิก มีพี่น้องร่วมบิดา มารดา ๕ คน หม่อมครูต่วนมีความสนใจในด้านละครและเข้ารับการฝึกหัดตั้งแต่อายุ  ๙ ขวบ ฝึกหัดเป็นตัวนางโดยรับการฝึกหัดจากหม่อมวัน มารดาของพระยาวชิตชลธาร (ม.ล. เวศน์  กุญชร) หม่อมครูต่วน มีความพยายามในการฝึกฝนจนสามารถแสดงเป็นตัวนางได้อย่างดี และเป็นที่เมตตาปราณีของท่านเจ้าพระยาเทเวศน์ วงศ์วิวัฒน์มาก ต่อมาเมื่ออายุ ๑๖ ปี ก็ได้เป็นหม่อมของท่านเจ้าพระยาเทเวศน์ วงศ์วิวัฒน์

หม่อมต่วนรับบทบาทเป็นตัวนางเอกหลายเรื่อง  เคยแสดงถวายหน้าพระที่นั่ง  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ได้รับการฝึกหัดให้แสดงละครดึกดำบรรพ์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์  หม่อมต่วนมีความเชี่ยวชาญในบทบาทตัวนางเป็นอย่างดีเยี่ยมเคยแสดงมาแล้วแทบทุบทบาท ในสมัยรัชกาลที่ ๗  ได้มีการจัดตั้งกองมหรสพ ก็ได้รับมอบหน้าที่เป็นผู้ฝึกหัดละครดึกดำบรรพ์ตัวนาง  เมื่อมีการยุบกระทรวงวัง ก็ออกจากราชการ  แต่เมื่อมีการจัดตั้งโรงเรียนนาฏดุริยางคศาสตร์ (วิทยาลัยนาฏศิลป์ในปัจจุบัน)  กรมศิลปากร  หม่อมต่วนก็ได้ถูกเชิญให้เข้ามารับราชการครู  ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๗๘  ได้รับความเคารพรักจากบรรดาศิษย์มากมาย  จนได้รับการยกย่องด้วยความนับถือว่า  “หม่อมครูต่วน”

ต่อมาในสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ หม่อมครูต่วนได้เปลี่ยนชื่อเป็น  “ศุภลักษณ์”  เนื่องจากเคยรับบทเป็นนางศุภลักษณ์ในละครเรื่องอุณรุท  หม่อมครูต่วนถึงแก่กรรมเมื่อวันที่  ๑๙  พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๙  สิริรวมอายุได้ ๗๓ ปี ๔ เดือน ๑๔ วัน

คุณหญิงนัฏกานุรักษ์ (เทศ สุวรรณภารต)

คุณหญิงนัฏกานุรักษ์ (เทศ สุวรรณภารต)

คุณหญิงนัฏกานุรักษ์ เดิมมืชื่อ เทศ การสาสนะ เกิดเมื่อวันที่ ๑๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๒๑ มีหน้าที่เป็นครูผู้ถ่ายทอดความรู้ด้าน โขน – ละคร คุณหญิงนัฏกานุรักษ์ เริ่มศึกษาวิชานาฏศิลป์ในละครวังบ้านหม้อ เมื่ออายุ ๑๐ ปี เป็นศิษย์หม่อมคร้าม (ชำนาญารรำตัวยักษ์) หม่อมเข็ม (ชำนาญการรำตัวพระ) และได้รับความรู้ด้านอื่นๆ จากหม่อมของเจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์อีกหลายท่าน

คุณหญิงนัฏกานุรักษ์ มีความรู้ความสามารถหลายด้าน โดยแสดงโขนรับบทเป็นรามสูรแสดงละครดึกดำบรรพ์รับบทเป็น เจ้าเงาะ ระตูจรกา และนางศูรปนักขา เป็นต้น ในสมัยรัชกาลที่ ๖ เป็นครูสอน โขน – ละครหลวงในกรมมหรสพ ในสมัยรัชกาลที่ ๗ เป็นครูสอนโขน – ละครหลวงในกรมมหรสพ ปีพ.ศ. ๒๔๗๗ เข้ารับราชการกรมศิลปากร ในโรงเรียนนาฏดุริยางคศาสตร์ จนถึง พ.ศ. ๒๔๘๘ จึงลาออก และเสียชีวิต เมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๐

ประวัติครูและบุคคลสำคัญของวงการนาฏศิลป์ไทย

ประวัติครูและบุคคลสำคัญของวงการนาฏศิลป์ไทย