ดนตรีและเพลงประกอบนาฎศิลป์ของไทย

ดนตรีและเพลงประกอบนาฎศิลป์ของไทย

ช่างรำ-เพลงนาฏศิลป์

เป็นองค์ประกอบสำคัญอย่างหนึ่งในการแสดงนาฏศิลป์ไทยที่สะท้อนถึงเอกลักษณ์ของชาติไทยดนตรี เพลง และการขับร้องเพลงไทยสำหรับประกอบการแสดง สามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ

1. ดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงนาฏศิลป์ไทย และเพลงไทยสำหรับประกอบการแสดงนาฏศิลป์ไทย

1. ดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงนาฏศิลป์ไทย ประกอบด้วย
1.1 ดนตรีประกอบการแสดงโขน-ละคร
วงดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงโขนและละครของไทย คือ วงปี่พาทย์ ซึ่งมีขนาดของวงเป็นแบบวงประเภทใดนั้นขึ้นอยู่กับลักษณะของการแสดงนั้นๆ ด้วย เช่น การแสดงโขนนั่งราวใช้วงปี่พาทย์เครื่องห้า 2 วง การแสดงละครในอาจใช้วงปี่พาทย์เครื่องคู่ หรือการแสดงละครดึกดำบรรพ์ต้องใช้วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ เป็นต้น

1.2 ดนตรีประกอบการแสดงรำและระบำมาตรฐาน
การแสดงรำและระบำที่เป็นชุดการแสดงที่เรียกว่า รำมาตรฐานและระบำมาตรฐานนั้น เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดง จะใช้วงปี่พาทย์บรรเลง อาจมีการนำเครื่องดนตรีบางชนิดเข้ามาประกอบตามลักษณะความจำเป็นของการแสดง เช่น ระบำกฤดาภินิหาร อาจนำเครื่องดนตรี ขิมหรือซอด้วง ม้าล่อ กลองต้อก และกลองแต๋ว มาบรรเลงในช่วงท้ายของการรำที่เป็นเพลงเชิดจีนก็ได้

1.3 ดนตรีประกอบการแสดงพื้นเมือง ดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงพื้นเมืองภาคต่างๆ ของไทยจะเป็นวงดนตรีพื้นบ้าน ซึ่งนับเป็นเอกลักษณ์ที่มีคุณค่าขอแต่ลภูมิภาค ได้แก่

ช่างรำ-วงดนตรีภาคเหนือ

1) ดนตรีพื้นบ้านภาคเหนือ มีเครื่องดนตรี เช่น พิณเปี๊ยะ ซึง สะล้อ ปี่แน ปี่กลาง ปี่ก้อย ปี่ตัด ปี่เล็ก ป้าดไม้ (ระนาดไม้) ป้าดเหล็ก (ระนาดเอกเหล็ก) ป้าดฆ้อง (ฆ้องวงใหญ่) ฆ้องหุ่ย ฆ้องเหม่ง กลองหลวง กลองแดว กลองปูเจ่ กลองปูจา กลองสะบัดชัย กลองมองเซิง กลองเต่งทิ้ง กลองม่าน และกลองตะโล้ดโป้ด เมื่อนำมารวมเป็นวง จะได้วงต่างๆ คือ วงสะล้อ ซอ ซึง วงปูเจ่ วงกลองแอว วงกลองม่าน วงปี่จุม วงเต่งทิ้ง วงกลองปูจา และวงกลองสะบัดชัย

ช่างรำ-วงดนตรีภาคกลาง

2) ดนตรีพื้นเมืองภาคกลาง เป็นเครื่องดนตรีประเภทกับวงตรีหลักของไทย คือ วงปี่พาทย์และเครื่องสาย ซึ่งลักษณะในการนำมาใช้อาจนำมาเป็นบางส่วนหรือบางประเภท เช่น กลองตะโพนและเครื่องประกอบจังหวะนำมาใช้ในการเล่นเพลงอีแซว เพลงเกี่ยวข้าว กลองรำมะนาใช้เล่นเพลงลำตัด กลองยาวใช้เล่นรำเถิดเทิง กลองโทนใช้เล่นรำวงและรำโทน ส่วนเครื่องเดินทำนองก็นิยมใช้ระนาด ซอ หรือ ปี่ เป็นต้น

ช่างรำ-วงดนตรีภาคอีสาน

3) ดนตรีพื้นเมืองภาคอีสาน มีเครื่องดนตรีที่สำคัญ ได้แก่ พิณ อาจเรียกต่างกันไปตามท้องถิ่น เช่น ซุง หมากจับปี่ หมากตับเต่ง และหมากต๊ดโต่ง ซอ โปงลาง แคน โหวด กลองยาวอีสาน กลองกันตรึม ซอกันตรึม ซอด้วง ซอตรัวเอก ปี่อ้อ ปี่เตรียง ปี่สไล เมื่อนำมาประสมวงแล้วก็จะได้วงดนตรีพื้นเมือง คือ วงโปงลาง วงแคน วงมโหรีอีสานใต้ วงทุ่มโหม่ง และวงเจรียงเมริน

 ช่างรำ-วงดนตรีภาคใต้

 4) ดนตรีพื้นเมืองภาคใต้ มีเครื่องดนตรีที่สำคัญ ได้แก่ กลองโนรา (กลองชาตรีหรือกลองตุ๊ก) กลองโพน กลองปืด โทน กลองทับ รำมะนา โหม่ง (ฆ้องคู่) ปี่กาหลอ ปี่ไหน กรับพวกภาตใต้ (แกระ) และนำเครื่องดนตรีสากลเข้ามาผสม ได้แก่ ไวโอลิน กีตาร์ เบนโจ อัคคอร์เดียน ลูกแซ็ก ส่วนการประสมวงนั้น เป็นการประสมวงตามประเภทของการแสดงแต่ละชนิด

2. เพลงไทยสำหรับประกอบการแสดงนาฏศิลป์ไทย

2.1 เพลงไทยประกอบการแสดงโขน ละคร รำ และระบำมาตรฐาน
เพลงไทยที่ใช้บรรเลงและขับร้องประกอบการแสดงนาฏศิลป์ไทย โขน ละคร รำ และระบำที่เป็นมาตรฐานนั้น แบ่งได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้

1) เพลงหน้าพาทย์ ได้แก่ เพลงที่ใช้บรรเลงหรือขับร้องประกอบอากัปกิริยาของตัวโขน ละคร เช่น การเดินทาง ยกทัพ สู้รบ แปลงกาย และเพลงหน้าพาทย์ที่ใช้ในการรำและระบำ เช่น รัว โคมเวียน ชำนาญ ตระบองกัน เป็นต้น

2) เพลงขับร้องรับส่ง คือ เพลงไทยที่นำมาบรรจุไว้ในบนโขน-ละคร อาจนำมาจากเพลงตับ เพลงเถา หรือเพลงเกร็ด เพื่อบรรเลงขับร้องประกอบการรำบทหรือใช้บทของตัวโขน ละคร หรือเป็นบทขับร้องในเพลงสำหรับการรำและระบำ เช่น เพลงช้าปี่ เพลงขึ้นพลับพลา เพลงนกกระจอกทอง เพลงลมพัดชายเขา เพลงเวสสุกรรม เพลงแขกตะเขิ่ง เพลงแขกเจ้าเซ็น เป็นต้น

2.2 เพลงไทยประกอบการแสดงพื้นเมือง เพลงไทยที่ใช้ประกอบการแสดงนาฏศิลป์พื้นเมือง เป็นบทเพลงพื้นบ้านที่ใช้บรรเลงและขับร้องประกอบการแสดงนาฏศิลป์พื้นเมือง โดยแบ่งออกตามภูมิภาคได้ดังนี้

1) เพลงบรรเลงและขับร้องประกอบนาฏศิลป์พื้นเมืองภาคเหนือ เพลงบรรเลงประกอบการฟ้อนเล็บ ได้แก่ เพลงแหย่งหลวง ฟ้อนเทียน ได้แก่ เพลงลาวเสี่ยงเทียน ฟ้อนสาวไหม ได้แก่ เพลงปราสาทไหวและเพลงลาวสมเด็จ ระบำซอ ได้แก่ ทำนองซอยิ๊และซอจ๊อยเชียงแสน บรรเลงเพลงลาวจ้อย ต้อยตลิ่งและลาวกระแซ เป็นต้น

2) เพลงบรรเลงและขับร้องประกอบนาฏศิลป์พื้นเมืองภาคกลาง เพลงบรรเลงประกอบการเล่นเต้นกำรำเคียว ได้แก่ เพลงระบำชาวนา เป็นต้น

3) เพลงบรรเลงและขับร้องประกอบนาฏศิลป์พื้นเมืองภาคอีสาน เพลงประกอบการแสดงเซิ้ง โปงลาง บรรเลงเพลงลายโปงลาง เซิ้งภูไท บรรเลงลายลำภูไท เป็นต้น

4) เพลงบรรเลงและขับร้องประกอบนาฏศิลป์พื้นเมืองภาคใต้ เพลงบรรเลงประกอบการแสดงลิเกป่า นิยมใช้เพลงตะลุ่มโปง เพลงสร้อยสน เพลงดอกดิน การแสดงชุดรองเง็ง บรรเลงเพลงลาฆูดูวอ เพลงมะอีนังลามา เพลงลานัง เพลงปูโจ๊ะปิชัง เป็นต้น

เครื่องแต่งตัวลิง

เครื่องแต่งตัวลิง

         คือ เครื่องแต่งกายของผู้แสดงที่แสดงเป็นตัวลิง ประกอบด้วยส่วนประกอบของเครื่องแต่งกาย ดังภาพ

ช่างรำ-เครื่องแต่งตัวลิง

เครื่องแต่งตัวยักษ์

เครื่องแต่งตัวยักษ์

         คือ เครื่องแต่งกายของผู้แสดงที่แสดงเป็นตัวยักษ์ ประกอบด้วยส่วนประกอบของเครื่องแต่งกาย ดังภาพ

ช่างรำ-เครื่องแต่งตัวยักษ์

เครื่องแต่งตัวนาง

เครื่องแต่งตัวนาง

         คือ เครื่องแต่งกายของผู้แสดงหรือผู้รำที่แสดงเป็นผู้หญิง ประกอบด้วยส่วนประกอบของเครื่องแต่งกาย ดังภาพ

ช่างรำ-เครื่องแต่งตัวนาง

เครื่องแต่งตัวพระ

เครื่องแต่งตัวพระ
        คือ เครื่องแต่งกายของผู้แสดงหรือผู้รำที่แสดงเป็นผู้ชาย ประกอบด้วยส่วนประกอบของเครื่องแต่งกาย ดังภาพ

ช่างรำ-เครื่องแต่งตัวพระ

การแต่งกายของนาฏศิลป์ไทย

การแต่งกายของนาฏศิลป์ไทย
การแสดงนาฏศิลป์ไทย โดยเฉพาะการแสดงโขนนั้นได้จำแนกผู้แสดงออกเป็น 4 ประเภท ตามลักษณะของบทบาทและการฝึกหัด คือ ตัวพระ ตัวนาง ตัวยักษ์ และตัวลิง ซึ่งในแต่ละตัวนั้น นอกจากบุคลิกลักษณะที่ถ่ายทอดออกมาให้ผู้ชมทราบจากการแสดงแล้ว เครื่องแต่งกายของผู้แสดงก็ยังเป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญอย่างหนึ่งที่บ่งบอกว่า ผู้นันรับบทบาทแสดงเป็นตัวใด
เครื่องแต่งกายนาฏศิลป์ไทยมีความงดงามและมีกรรมวิธีการประดิษฐ์ที่วิจิตรบรรจงเป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้เพราะที่มาของเครื่องแต่งกายนาฏศิลป์ไทยนั้น จำลองแบบมาจากเครื่องทรงของพระมหากษัตริย์ (เครื่องต้น) แล้วนำมาพัฒนาให้เหมาะสมต่อการแสดง ซึ่งจำแนกออกเป็น 4 ฝ่าย ดังนี้

เครื่องแต่งตัวพระ
เครื่องแต่งตัวนาง
เครื่องแต่งตัวยักษ์
เครื่องแต่งตัวลิง Continue reading “การแต่งกายของนาฏศิลป์ไทย”

การแสดงพื้นเมืองภาคใต้

การแสดงพื้นเมืองภาคใต้

ช่างรำ-การแสดงภาคใต้

เป็นศิลปะการรำและการละเล่นของชาวพื้นบ้านภาคใต้ อาจแบ่งตามกลุ่มวัฒนธรรมได้ 2 กลุ่มคือ วัฒนธรรมไทยพุทธ ได้แก่ การแสดงโนรา หนังตะลุง เพลงบอก เพลงนา และวัฒนธรรมไทยมุสลิม ได้แก่ รองเง็ง ซำเปง มะโย่ง (การแสดงละคร) ลิเกฮูลู (คล้ายลิเกภาคกลาง) และซิละ มีเครื่องดนตรีประกอบที่สำคัญ เช่น กลองโนรา กลองโพน กลองปิด กลองโทน ทับ กรับ พวง โหม่ง ปี่กาหลอ ปี่ไหน รำมะนา ไวโอลิน อัคคอร์เดียน ภายหลังได้มีระบำที่ปรับปรุงจากกิจรรมในวิถีชีวิต ศิลปาชีพต่างๆ เช่น รำบำร่อนแร่ กรีดยาง ปาเต๊ะ เป็นต้น

การแสดงพื้นเมืองภาคอีสาน

การแสดงพื้นเมืองภาคอีสาน

ช่างรำ-การแสดงภาคอีสาน

เป็นศิลปะการรำและการละเล่นของชาวพื้นบ้านภาคอีสาน หรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มวัฒนธรรมใหญ่ๆ คือ กลุ่มอีกสาน-เหนือ มีวัฒนธรรมไทยลาวซึ่งมักเรียกการละเล่นว่า “เซิ้ง ฟ้อน และหมอลำ” เช่น เซิ้งบั้งไฟ เซิ้งสวิง ฟ้อนภูไท ลำกลอน เกี้ยว ลำเต้ย ซึ่งใช้เครื่องดนตรีพื้นบ้านประกอบ ได้แก่ แคน พิณ ซอ กลองยาว อีสาน ฉิ่ง ฉาบ ฆ้อง และกรับ ภายหลังเพิ่มเติมโปงลางและโหวดเข้ามาด้วย ส่วนกลุ่มอีสานใต้ได้รับอิทธิพลไทยเขมร มีการละเล่นที่เรียกว่าเรือม หรือ เร็อม เช่น เรือมลูกอัดเรหรือรำกระทบสาก รำกระโน็บติงต็องหรือระบำตั๊กแตนตำข้าว รำอาไย หรือรำตัด หรือเพลงอีแซวแบบภาคกลาง วงดนตรีที่ใช้บรรเลงคือ วงมโหรีอีสานใต้ มีเครื่องดนตรีคือ ซอด้วง ซอตรัวเอก กลองกันตรึม พิณ ระนาดเอกไม้ ปี่สไล กลองรำมะนาและเครื่องประกอบจังหวะ การแต่งกายประกอบการแสดงเป็นไปตามวัฒนธรรมของพื้นบ้าน ลักษณะท่ารำและท่วงทำนองดนตรีในการแสดงค่อนข้างกระชับ รวดเร็ว และสนุกสนาน

การแสดงพื้นเมืองภาคกลาง

การแสดงพื้นเมืองภาคกลาง

ช่างรำ-การแสดงภาคกลาง

เป็นศิลปะการรำและการละเล่นของชนชาวพื้นบ้านภาคกลาง ซึ่งส่วนใหญ่มีอาชีพเกี่ยวกับเกษตรกรรม ศิปะการแสดงจึงมีความสอดคล้องกับวิถีชีวิตและเพื่อความบันเทิงสนุกสนาน เป็นการพักผ่อนหย่อนใจจากการทำงาน หรือเมื่อเสร็จจากเทศกาลฤดูเก็บเกี่ยว เช่น การเล่นเพลงเกี่ยวข้าว เต้นกำรำเคียว รำโทนหรือรำวง รำเถิดเทิง หรือรำกลองยาว เป็นต้น มีการแต่งกาย ตามวัฒนธรรมของท้องถิ่น และใช้เครื่องดนตรีพื้นบ้าน เช่น กลองยาว กลองโทน ฉิ่ง ฉาบ กรับ และโหม่ง

การแสดงพื้นเมืองภาคเหนือ

การแสดงพื้นเมืองภาคเหนือ

เป็นศิลปะการรำ และการละเล่น หรือที่นิยมเรียกกันทั่วไปว่า “ฟ้อน” การฟ้อนเป็นวัฒนธรรมของชาวล้านนา และกลุ่มชนเผ่าต่างๆ เช่น ชาวไต ชาวลื้อ ชาวยอง ชาวเขิน เป็นต้น ลักษณะของการฟ้อน แบ่งเป็น 2 แบบ คือ แบบดั้งเดิม และแบบที่ปรับปรุงขึ้นใหม่ แต่ยังยงมีการรักษาเอกลักษณ์ทางการแสดงไว้คือ มีลีลาท่ารำที่แช่มช้า อ่อนช้อย มีการแต่งกายตามวัฒนธรรท้องถิ่นที่สวยงามประกอบกับการบรรเลงและขับร้องด้วยวงดนตรีพื้นบ้าน เช่น วงสะล้อ ซอ ซึง วงปูเจ่ วงกลองแอว เป็นต้น โอกาสที่แสดงมักเล่นกันในงานประเพณี หรือต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง ได้แก่ ฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน ฟ้อนครัวทาน ฟ้อนสาวไหม และฟ้อนเจิง