ครูลมุล ยมะคุปต์

ครูลมุล ยมะคุปต์

ลมุล เป็นธิดาของ ร้อยโทนายแพทย์จีน กับนางคำมอย อัญธัญภาติ(เชื้อ อินต๊ะ) เกิดวันที่ ๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๔๘ ณ จังหวัดน่าน ในขณะที่บิดาขึ้นไปราชการสงครามปราบกบฏ(กบฏเงี้ยว พ.ศ. ๒๔๔๕) ลมุลมีพี่น้องร่วมบิดา-มารดาทั้งสิ้น ๘ คน

เมื่ออายุ ๕ ขวบเข้าเรียนวิชาสามัญ ณ โรงเรียนสตรีวิทยา เรียนได้เพียงปีเดียวบิดาก็นำไปถวายตัวที่วังสวนกุหลาบ ลมุลอยู่ในความดูแลของคุณท้าวนารีวรคณารักษ์ (แจ่ม ไกรฤกษ์) เมื่ออายุ ๖ขวบได้รับการถ่ายทอดวิชาความรู้ด้านละครรำจาก หม่อมครูแย้มละครในสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ถ่ายทอดบทบาทของตัวเอกด้านละครใน เช่น อิเหนา หย้าหรัน เป็นต้น  Continue reading “ครูลมุล ยมะคุปต์”

ครูมัลลี (หมัน) คงประภัศร์

ครูมัลลี  (หมัน)  คงประภัศร์

มัลลี (หมัน) คงประภัศร์  มีนามเดิมว่า “ปุย” เป็นบุตรีคนที่ ๓ ของนายกุกและนางนวม ช้างแก้ว เกิดเมื่อวันที่ ๒๐ มกราคม พ.ศ. ๒๔๒๖ มีภูมิลำเนาอยู่ที่บ้านปากคลองวัดรั้วเหล็ก (ปัจจุบันคือวัดประยุรวงศาวาส) อำเภอบางกอกใหญ่ จังหวัดธนบุรี

เมื่อเด็กหญิงปุยอายุ ๘ ขวบบิดาก็สียชีวิต นางนวมผู้เป็นมารดาจึงได้สมัครเข้ารับราชการเป็นพนักงานประจำห้องเสวยของพระองค์เจ้าสุริยวงศ์ฯได้พาเด็กหญิงปุยไปอยู่ด้วย เด็กหญิงปุยได้มีโอกาสชมละครรำของพระองค์เจ้าวัชรีวงศ์ฯ ที่เข้าไปแสดงประจำในวังหลวง จึงมีความหลงไหลพอใจในบทบาทของตัวละครมากจนถึงกับแอบหนีมารดาติดตามคณะละครเจ้าขาวไป ได้รับการฝึกสอนจาก “หม่อมแม่เป้า” ครูละครคนสำคัญของวังเจ้าขาว แม้มารดาจะมารับตัวกลับ แต่เด็กหญิงปุยก็ไม่ยอมขออยู่หัดละครให้ได้จนมารดายอมแพ้  ให้หัดละครอยู่ในวังเจ้าขาว (ปัจจุบันคือโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย) Continue reading “ครูมัลลี (หมัน) คงประภัศร์”

ครูจำเรียง พุธประดับ

ครูจำเรียง  พุธประดับ

จำเรียง  พุธประดับ  เกิดเมื่อวันที่ ๑๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๕๙ ณ ตำบลท่าทราย อำเภอกระซง จังหวัดเพชรบุรี บิดาชื่อนายเปี่ยม มารดาชื่อนางเจิม จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาจากโรงเรียนประจำจังหวัดเพชรบุรี เมื่อพ.ศ. ๒๔๗๓ ขณะนั้นอายุเพียง ๑๓ ขวบ ได้เห็นการฝึกหัดโขนหลวง ละครหลวง ณ เรือนไทยในวังสวนกุหลาบ  จนเกิดความสนใจในศิลปะประเภทนี้ ครูจำเรียงจึงขออนุญาตบิดามารดาเข้ารับการฝึกหัดละครโดยไม่ยอมศึกษาวิชาสามัญต่อไป

ครูจำเรียงได้เข้ารับราชการในกรมปี่พาทย์หลวง กระทรวงวัง และได้รับการคัดเลือกให้ฝึกหัดละครนาง โดยเป็นศิษย์ในความปกครองของเจ้าจอมมารดาสาย และคุณจุไร สุวรรณทัต เมื่อได้รับการฝึกหัดเป็นอย่างดีแล้ว  ครูจำเรียงก็ได้รับการคัดเลือกให้แสดงเป็นตัวนางทั้งละครในและละครนอก ต่อมาจึงได้รับโอกาสฝึกหัดนาฏศิลป์เพิ่มเติมโดยมีหม่อมครูต่วน ครูแปลก และแม่ครูอึ่ง เป็นครูผู้สอน จากนั้นก็ย้ายไปฝึกหัดต่อที่ท้ายวัง Continue reading “ครูจำเรียง พุธประดับ”

มุมแลกลิงค์จ้า

ใครสนใจแลกลิงค์กับทางช่างรำเชิญได้เลยนะค๊าาาา
ทางเรายินดีแลกคะร่วมด้วยช่วยกัน รวมกันเราอยู่น๊า อิอิ
รายชื่อเวปที่แลกกันทางช่างรำ

 
ลงประกาศฟรี(สินค้าขายดี)
เวปไซต์สำเร็จรูปที่ใช้งานง่ายที่สุด
Clara Plus
ลงประกาศฟรี(boardshopping)
เที่ยวเมืองไทย รับทำเว็บ รับลงโฆษณา

หม่อมครูต่วน (ศุภลักษณ์) ภัทรนาวิก

หม่อมครูต่วน  (ศุภลักษณ์)  ภัทรนาวิก

นางศุภลักษณ์  ภัทรนาวิก  ชื่อเดิม  ต่วน  เกิดวันพฤหัสบดีขึ้น ๑ ค่ำเดือน ๘  ปีมะแม ตรงกับวันที่ ๕ กรกฏาคม พ.ศ.  ๒๔๖๒ ณ บ้านเหนือ วัดทองธรรมชาติ อำเภอคลองสาน ฝั่งธนบุรี บิดาชื่อนายกลั่น ภัทรนาวิก ซึ่งเป็นบุตรพระยา ภักดีภัทรากร (จ๋อง ภัทรนาวิก) มารดาชื่อลำไย  เป็นชาวพระนครศรีอยุธยา

นางศุภลักษณ์ ภัทรนาวิก มีพี่น้องร่วมบิดา มารดา ๕ คน หม่อมครูต่วนมีความสนใจในด้านละครและเข้ารับการฝึกหัดตั้งแต่อายุ  ๙ ขวบ ฝึกหัดเป็นตัวนางโดยรับการฝึกหัดจากหม่อมวัน มารดาของพระยาวชิตชลธาร (ม.ล. เวศน์  กุญชร) หม่อมครูต่วน มีความพยายามในการฝึกฝนจนสามารถแสดงเป็นตัวนางได้อย่างดี และเป็นที่เมตตาปราณีของท่านเจ้าพระยาเทเวศน์ วงศ์วิวัฒน์มาก ต่อมาเมื่ออายุ ๑๖ ปี ก็ได้เป็นหม่อมของท่านเจ้าพระยาเทเวศน์ วงศ์วิวัฒน์

หม่อมต่วนรับบทบาทเป็นตัวนางเอกหลายเรื่อง  เคยแสดงถวายหน้าพระที่นั่ง  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ได้รับการฝึกหัดให้แสดงละครดึกดำบรรพ์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์  หม่อมต่วนมีความเชี่ยวชาญในบทบาทตัวนางเป็นอย่างดีเยี่ยมเคยแสดงมาแล้วแทบทุบทบาท ในสมัยรัชกาลที่ ๗  ได้มีการจัดตั้งกองมหรสพ ก็ได้รับมอบหน้าที่เป็นผู้ฝึกหัดละครดึกดำบรรพ์ตัวนาง  เมื่อมีการยุบกระทรวงวัง ก็ออกจากราชการ  แต่เมื่อมีการจัดตั้งโรงเรียนนาฏดุริยางคศาสตร์ (วิทยาลัยนาฏศิลป์ในปัจจุบัน)  กรมศิลปากร  หม่อมต่วนก็ได้ถูกเชิญให้เข้ามารับราชการครู  ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๗๘  ได้รับความเคารพรักจากบรรดาศิษย์มากมาย  จนได้รับการยกย่องด้วยความนับถือว่า  “หม่อมครูต่วน”

ต่อมาในสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ หม่อมครูต่วนได้เปลี่ยนชื่อเป็น  “ศุภลักษณ์”  เนื่องจากเคยรับบทเป็นนางศุภลักษณ์ในละครเรื่องอุณรุท  หม่อมครูต่วนถึงแก่กรรมเมื่อวันที่  ๑๙  พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๙  สิริรวมอายุได้ ๗๓ ปี ๔ เดือน ๑๔ วัน

คุณหญิงนัฏกานุรักษ์ (เทศ สุวรรณภารต)

คุณหญิงนัฏกานุรักษ์ (เทศ สุวรรณภารต)

คุณหญิงนัฏกานุรักษ์ เดิมมืชื่อ เทศ การสาสนะ เกิดเมื่อวันที่ ๑๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๒๑ มีหน้าที่เป็นครูผู้ถ่ายทอดความรู้ด้าน โขน – ละคร คุณหญิงนัฏกานุรักษ์ เริ่มศึกษาวิชานาฏศิลป์ในละครวังบ้านหม้อ เมื่ออายุ ๑๐ ปี เป็นศิษย์หม่อมคร้าม (ชำนาญารรำตัวยักษ์) หม่อมเข็ม (ชำนาญการรำตัวพระ) และได้รับความรู้ด้านอื่นๆ จากหม่อมของเจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์อีกหลายท่าน

คุณหญิงนัฏกานุรักษ์ มีความรู้ความสามารถหลายด้าน โดยแสดงโขนรับบทเป็นรามสูรแสดงละครดึกดำบรรพ์รับบทเป็น เจ้าเงาะ ระตูจรกา และนางศูรปนักขา เป็นต้น ในสมัยรัชกาลที่ ๖ เป็นครูสอน โขน – ละครหลวงในกรมมหรสพ ในสมัยรัชกาลที่ ๗ เป็นครูสอนโขน – ละครหลวงในกรมมหรสพ ปีพ.ศ. ๒๔๗๗ เข้ารับราชการกรมศิลปากร ในโรงเรียนนาฏดุริยางคศาสตร์ จนถึง พ.ศ. ๒๔๘๘ จึงลาออก และเสียชีวิต เมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๐

ประวัติครูและบุคคลสำคัญของวงการนาฏศิลป์ไทย

ประวัติครูและบุคคลสำคัญของวงการนาฏศิลป์ไทย

ดนตรีและเพลงประกอบนาฎศิลป์ของไทย

ดนตรีและเพลงประกอบนาฎศิลป์ของไทย

ช่างรำ-เพลงนาฏศิลป์

เป็นองค์ประกอบสำคัญอย่างหนึ่งในการแสดงนาฏศิลป์ไทยที่สะท้อนถึงเอกลักษณ์ของชาติไทยดนตรี เพลง และการขับร้องเพลงไทยสำหรับประกอบการแสดง สามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ

1. ดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงนาฏศิลป์ไทย และเพลงไทยสำหรับประกอบการแสดงนาฏศิลป์ไทย

1. ดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงนาฏศิลป์ไทย ประกอบด้วย
1.1 ดนตรีประกอบการแสดงโขน-ละคร
วงดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงโขนและละครของไทย คือ วงปี่พาทย์ ซึ่งมีขนาดของวงเป็นแบบวงประเภทใดนั้นขึ้นอยู่กับลักษณะของการแสดงนั้นๆ ด้วย เช่น การแสดงโขนนั่งราวใช้วงปี่พาทย์เครื่องห้า 2 วง การแสดงละครในอาจใช้วงปี่พาทย์เครื่องคู่ หรือการแสดงละครดึกดำบรรพ์ต้องใช้วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ เป็นต้น

1.2 ดนตรีประกอบการแสดงรำและระบำมาตรฐาน
การแสดงรำและระบำที่เป็นชุดการแสดงที่เรียกว่า รำมาตรฐานและระบำมาตรฐานนั้น เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดง จะใช้วงปี่พาทย์บรรเลง อาจมีการนำเครื่องดนตรีบางชนิดเข้ามาประกอบตามลักษณะความจำเป็นของการแสดง เช่น ระบำกฤดาภินิหาร อาจนำเครื่องดนตรี ขิมหรือซอด้วง ม้าล่อ กลองต้อก และกลองแต๋ว มาบรรเลงในช่วงท้ายของการรำที่เป็นเพลงเชิดจีนก็ได้

1.3 ดนตรีประกอบการแสดงพื้นเมือง ดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงพื้นเมืองภาคต่างๆ ของไทยจะเป็นวงดนตรีพื้นบ้าน ซึ่งนับเป็นเอกลักษณ์ที่มีคุณค่าขอแต่ลภูมิภาค ได้แก่

ช่างรำ-วงดนตรีภาคเหนือ

1) ดนตรีพื้นบ้านภาคเหนือ มีเครื่องดนตรี เช่น พิณเปี๊ยะ ซึง สะล้อ ปี่แน ปี่กลาง ปี่ก้อย ปี่ตัด ปี่เล็ก ป้าดไม้ (ระนาดไม้) ป้าดเหล็ก (ระนาดเอกเหล็ก) ป้าดฆ้อง (ฆ้องวงใหญ่) ฆ้องหุ่ย ฆ้องเหม่ง กลองหลวง กลองแดว กลองปูเจ่ กลองปูจา กลองสะบัดชัย กลองมองเซิง กลองเต่งทิ้ง กลองม่าน และกลองตะโล้ดโป้ด เมื่อนำมารวมเป็นวง จะได้วงต่างๆ คือ วงสะล้อ ซอ ซึง วงปูเจ่ วงกลองแอว วงกลองม่าน วงปี่จุม วงเต่งทิ้ง วงกลองปูจา และวงกลองสะบัดชัย

ช่างรำ-วงดนตรีภาคกลาง

2) ดนตรีพื้นเมืองภาคกลาง เป็นเครื่องดนตรีประเภทกับวงตรีหลักของไทย คือ วงปี่พาทย์และเครื่องสาย ซึ่งลักษณะในการนำมาใช้อาจนำมาเป็นบางส่วนหรือบางประเภท เช่น กลองตะโพนและเครื่องประกอบจังหวะนำมาใช้ในการเล่นเพลงอีแซว เพลงเกี่ยวข้าว กลองรำมะนาใช้เล่นเพลงลำตัด กลองยาวใช้เล่นรำเถิดเทิง กลองโทนใช้เล่นรำวงและรำโทน ส่วนเครื่องเดินทำนองก็นิยมใช้ระนาด ซอ หรือ ปี่ เป็นต้น

ช่างรำ-วงดนตรีภาคอีสาน

3) ดนตรีพื้นเมืองภาคอีสาน มีเครื่องดนตรีที่สำคัญ ได้แก่ พิณ อาจเรียกต่างกันไปตามท้องถิ่น เช่น ซุง หมากจับปี่ หมากตับเต่ง และหมากต๊ดโต่ง ซอ โปงลาง แคน โหวด กลองยาวอีสาน กลองกันตรึม ซอกันตรึม ซอด้วง ซอตรัวเอก ปี่อ้อ ปี่เตรียง ปี่สไล เมื่อนำมาประสมวงแล้วก็จะได้วงดนตรีพื้นเมือง คือ วงโปงลาง วงแคน วงมโหรีอีสานใต้ วงทุ่มโหม่ง และวงเจรียงเมริน

 ช่างรำ-วงดนตรีภาคใต้

 4) ดนตรีพื้นเมืองภาคใต้ มีเครื่องดนตรีที่สำคัญ ได้แก่ กลองโนรา (กลองชาตรีหรือกลองตุ๊ก) กลองโพน กลองปืด โทน กลองทับ รำมะนา โหม่ง (ฆ้องคู่) ปี่กาหลอ ปี่ไหน กรับพวกภาตใต้ (แกระ) และนำเครื่องดนตรีสากลเข้ามาผสม ได้แก่ ไวโอลิน กีตาร์ เบนโจ อัคคอร์เดียน ลูกแซ็ก ส่วนการประสมวงนั้น เป็นการประสมวงตามประเภทของการแสดงแต่ละชนิด

2. เพลงไทยสำหรับประกอบการแสดงนาฏศิลป์ไทย

2.1 เพลงไทยประกอบการแสดงโขน ละคร รำ และระบำมาตรฐาน
เพลงไทยที่ใช้บรรเลงและขับร้องประกอบการแสดงนาฏศิลป์ไทย โขน ละคร รำ และระบำที่เป็นมาตรฐานนั้น แบ่งได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้

1) เพลงหน้าพาทย์ ได้แก่ เพลงที่ใช้บรรเลงหรือขับร้องประกอบอากัปกิริยาของตัวโขน ละคร เช่น การเดินทาง ยกทัพ สู้รบ แปลงกาย และเพลงหน้าพาทย์ที่ใช้ในการรำและระบำ เช่น รัว โคมเวียน ชำนาญ ตระบองกัน เป็นต้น

2) เพลงขับร้องรับส่ง คือ เพลงไทยที่นำมาบรรจุไว้ในบนโขน-ละคร อาจนำมาจากเพลงตับ เพลงเถา หรือเพลงเกร็ด เพื่อบรรเลงขับร้องประกอบการรำบทหรือใช้บทของตัวโขน ละคร หรือเป็นบทขับร้องในเพลงสำหรับการรำและระบำ เช่น เพลงช้าปี่ เพลงขึ้นพลับพลา เพลงนกกระจอกทอง เพลงลมพัดชายเขา เพลงเวสสุกรรม เพลงแขกตะเขิ่ง เพลงแขกเจ้าเซ็น เป็นต้น

2.2 เพลงไทยประกอบการแสดงพื้นเมือง เพลงไทยที่ใช้ประกอบการแสดงนาฏศิลป์พื้นเมือง เป็นบทเพลงพื้นบ้านที่ใช้บรรเลงและขับร้องประกอบการแสดงนาฏศิลป์พื้นเมือง โดยแบ่งออกตามภูมิภาคได้ดังนี้

1) เพลงบรรเลงและขับร้องประกอบนาฏศิลป์พื้นเมืองภาคเหนือ เพลงบรรเลงประกอบการฟ้อนเล็บ ได้แก่ เพลงแหย่งหลวง ฟ้อนเทียน ได้แก่ เพลงลาวเสี่ยงเทียน ฟ้อนสาวไหม ได้แก่ เพลงปราสาทไหวและเพลงลาวสมเด็จ ระบำซอ ได้แก่ ทำนองซอยิ๊และซอจ๊อยเชียงแสน บรรเลงเพลงลาวจ้อย ต้อยตลิ่งและลาวกระแซ เป็นต้น

2) เพลงบรรเลงและขับร้องประกอบนาฏศิลป์พื้นเมืองภาคกลาง เพลงบรรเลงประกอบการเล่นเต้นกำรำเคียว ได้แก่ เพลงระบำชาวนา เป็นต้น

3) เพลงบรรเลงและขับร้องประกอบนาฏศิลป์พื้นเมืองภาคอีสาน เพลงประกอบการแสดงเซิ้ง โปงลาง บรรเลงเพลงลายโปงลาง เซิ้งภูไท บรรเลงลายลำภูไท เป็นต้น

4) เพลงบรรเลงและขับร้องประกอบนาฏศิลป์พื้นเมืองภาคใต้ เพลงบรรเลงประกอบการแสดงลิเกป่า นิยมใช้เพลงตะลุ่มโปง เพลงสร้อยสน เพลงดอกดิน การแสดงชุดรองเง็ง บรรเลงเพลงลาฆูดูวอ เพลงมะอีนังลามา เพลงลานัง เพลงปูโจ๊ะปิชัง เป็นต้น

เครื่องแต่งตัวลิง

เครื่องแต่งตัวลิง

         คือ เครื่องแต่งกายของผู้แสดงที่แสดงเป็นตัวลิง ประกอบด้วยส่วนประกอบของเครื่องแต่งกาย ดังภาพ

ช่างรำ-เครื่องแต่งตัวลิง