เครื่องแต่งตัวยักษ์

เครื่องแต่งตัวยักษ์

         คือ เครื่องแต่งกายของผู้แสดงที่แสดงเป็นตัวยักษ์ ประกอบด้วยส่วนประกอบของเครื่องแต่งกาย ดังภาพ

ช่างรำ-เครื่องแต่งตัวยักษ์

เครื่องแต่งตัวนาง

เครื่องแต่งตัวนาง

         คือ เครื่องแต่งกายของผู้แสดงหรือผู้รำที่แสดงเป็นผู้หญิง ประกอบด้วยส่วนประกอบของเครื่องแต่งกาย ดังภาพ

ช่างรำ-เครื่องแต่งตัวนาง

เครื่องแต่งตัวพระ

เครื่องแต่งตัวพระ
        คือ เครื่องแต่งกายของผู้แสดงหรือผู้รำที่แสดงเป็นผู้ชาย ประกอบด้วยส่วนประกอบของเครื่องแต่งกาย ดังภาพ

ช่างรำ-เครื่องแต่งตัวพระ

การแต่งกายของนาฏศิลป์ไทย

การแต่งกายของนาฏศิลป์ไทย
การแสดงนาฏศิลป์ไทย โดยเฉพาะการแสดงโขนนั้นได้จำแนกผู้แสดงออกเป็น 4 ประเภท ตามลักษณะของบทบาทและการฝึกหัด คือ ตัวพระ ตัวนาง ตัวยักษ์ และตัวลิง ซึ่งในแต่ละตัวนั้น นอกจากบุคลิกลักษณะที่ถ่ายทอดออกมาให้ผู้ชมทราบจากการแสดงแล้ว เครื่องแต่งกายของผู้แสดงก็ยังเป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญอย่างหนึ่งที่บ่งบอกว่า ผู้นันรับบทบาทแสดงเป็นตัวใด
เครื่องแต่งกายนาฏศิลป์ไทยมีความงดงามและมีกรรมวิธีการประดิษฐ์ที่วิจิตรบรรจงเป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้เพราะที่มาของเครื่องแต่งกายนาฏศิลป์ไทยนั้น จำลองแบบมาจากเครื่องทรงของพระมหากษัตริย์ (เครื่องต้น) แล้วนำมาพัฒนาให้เหมาะสมต่อการแสดง ซึ่งจำแนกออกเป็น 4 ฝ่าย ดังนี้

เครื่องแต่งตัวพระ
เครื่องแต่งตัวนาง
เครื่องแต่งตัวยักษ์
เครื่องแต่งตัวลิง Continue reading “การแต่งกายของนาฏศิลป์ไทย”

การแสดงพื้นเมืองภาคใต้

การแสดงพื้นเมืองภาคใต้

ช่างรำ-การแสดงภาคใต้

เป็นศิลปะการรำและการละเล่นของชาวพื้นบ้านภาคใต้ อาจแบ่งตามกลุ่มวัฒนธรรมได้ 2 กลุ่มคือ วัฒนธรรมไทยพุทธ ได้แก่ การแสดงโนรา หนังตะลุง เพลงบอก เพลงนา และวัฒนธรรมไทยมุสลิม ได้แก่ รองเง็ง ซำเปง มะโย่ง (การแสดงละคร) ลิเกฮูลู (คล้ายลิเกภาคกลาง) และซิละ มีเครื่องดนตรีประกอบที่สำคัญ เช่น กลองโนรา กลองโพน กลองปิด กลองโทน ทับ กรับ พวง โหม่ง ปี่กาหลอ ปี่ไหน รำมะนา ไวโอลิน อัคคอร์เดียน ภายหลังได้มีระบำที่ปรับปรุงจากกิจรรมในวิถีชีวิต ศิลปาชีพต่างๆ เช่น รำบำร่อนแร่ กรีดยาง ปาเต๊ะ เป็นต้น

การแสดงพื้นเมืองภาคอีสาน

การแสดงพื้นเมืองภาคอีสาน

ช่างรำ-การแสดงภาคอีสาน

เป็นศิลปะการรำและการละเล่นของชาวพื้นบ้านภาคอีสาน หรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มวัฒนธรรมใหญ่ๆ คือ กลุ่มอีกสาน-เหนือ มีวัฒนธรรมไทยลาวซึ่งมักเรียกการละเล่นว่า “เซิ้ง ฟ้อน และหมอลำ” เช่น เซิ้งบั้งไฟ เซิ้งสวิง ฟ้อนภูไท ลำกลอน เกี้ยว ลำเต้ย ซึ่งใช้เครื่องดนตรีพื้นบ้านประกอบ ได้แก่ แคน พิณ ซอ กลองยาว อีสาน ฉิ่ง ฉาบ ฆ้อง และกรับ ภายหลังเพิ่มเติมโปงลางและโหวดเข้ามาด้วย ส่วนกลุ่มอีสานใต้ได้รับอิทธิพลไทยเขมร มีการละเล่นที่เรียกว่าเรือม หรือ เร็อม เช่น เรือมลูกอัดเรหรือรำกระทบสาก รำกระโน็บติงต็องหรือระบำตั๊กแตนตำข้าว รำอาไย หรือรำตัด หรือเพลงอีแซวแบบภาคกลาง วงดนตรีที่ใช้บรรเลงคือ วงมโหรีอีสานใต้ มีเครื่องดนตรีคือ ซอด้วง ซอตรัวเอก กลองกันตรึม พิณ ระนาดเอกไม้ ปี่สไล กลองรำมะนาและเครื่องประกอบจังหวะ การแต่งกายประกอบการแสดงเป็นไปตามวัฒนธรรมของพื้นบ้าน ลักษณะท่ารำและท่วงทำนองดนตรีในการแสดงค่อนข้างกระชับ รวดเร็ว และสนุกสนาน

การแสดงพื้นเมืองภาคกลาง

การแสดงพื้นเมืองภาคกลาง

ช่างรำ-การแสดงภาคกลาง

เป็นศิลปะการรำและการละเล่นของชนชาวพื้นบ้านภาคกลาง ซึ่งส่วนใหญ่มีอาชีพเกี่ยวกับเกษตรกรรม ศิปะการแสดงจึงมีความสอดคล้องกับวิถีชีวิตและเพื่อความบันเทิงสนุกสนาน เป็นการพักผ่อนหย่อนใจจากการทำงาน หรือเมื่อเสร็จจากเทศกาลฤดูเก็บเกี่ยว เช่น การเล่นเพลงเกี่ยวข้าว เต้นกำรำเคียว รำโทนหรือรำวง รำเถิดเทิง หรือรำกลองยาว เป็นต้น มีการแต่งกาย ตามวัฒนธรรมของท้องถิ่น และใช้เครื่องดนตรีพื้นบ้าน เช่น กลองยาว กลองโทน ฉิ่ง ฉาบ กรับ และโหม่ง

การแสดงพื้นเมืองภาคเหนือ

การแสดงพื้นเมืองภาคเหนือ

เป็นศิลปะการรำ และการละเล่น หรือที่นิยมเรียกกันทั่วไปว่า “ฟ้อน” การฟ้อนเป็นวัฒนธรรมของชาวล้านนา และกลุ่มชนเผ่าต่างๆ เช่น ชาวไต ชาวลื้อ ชาวยอง ชาวเขิน เป็นต้น ลักษณะของการฟ้อน แบ่งเป็น 2 แบบ คือ แบบดั้งเดิม และแบบที่ปรับปรุงขึ้นใหม่ แต่ยังยงมีการรักษาเอกลักษณ์ทางการแสดงไว้คือ มีลีลาท่ารำที่แช่มช้า อ่อนช้อย มีการแต่งกายตามวัฒนธรรท้องถิ่นที่สวยงามประกอบกับการบรรเลงและขับร้องด้วยวงดนตรีพื้นบ้าน เช่น วงสะล้อ ซอ ซึง วงปูเจ่ วงกลองแอว เป็นต้น โอกาสที่แสดงมักเล่นกันในงานประเพณี หรือต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง ได้แก่ ฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน ฟ้อนครัวทาน ฟ้อนสาวไหม และฟ้อนเจิง

การแสดงพื้นเมือง

การแสดงพื้นเมือง

เป็นศิลปะแห่งการร่ายรำที่มีทั้งรำ ระบำ หรือการละเล่นที่เป็นเอกลักษณ์ของกลุ่มชนตามวัฒนธรรมในแต่ละภูมิภาค ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นภูมิภาคได้ 4 ภูมิภาค ดังนี้

การแสดงภาคเหนือ

การแสดงภาคกลาง

การแสดงภาคอีสาน

การแสดงภาคใต้

 

ระบำ

ระบำ

ช่างรำ-ระบำ

หมายถึง ศิลปะแห่งการร่ายรำที่มีผู้แสดงตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปด้วยความพร้อมเพรียง มีลักษณะการแต่งกายคล้ายคลึงกัน กระบวนท่าร่ายรำคล้ายคลึงกัน ไม่เล่นเป็นเรื่องราว อาจมีบทขับร้องประกอบการรำเข้าทำนองเพลงดนตรี ซึ่งระบำแบบมาตรฐานมักบรรเลงด้วยวงปี่พาทย์ การแต่งกายนิยมแต่งกายยืนเครื่องพระ-นาง หรือแต่งแบบนางในราชสำนัก เช่น ระบำสี่บท ระบำกฤดาภินิหาร ระบำฉิ่ง เป็นต้น