องค์ประกอบของนาฏศิลป์ไทย

นาฏศิลป์ไทย ประกอบด้วย ศิลปะหลาย ๆ แขนง ทั้ง ศิลปะการร้องเพลง การบรรเลงดนตรี และ การฟ้อนรำ ที่ต้องอาศัยบทร้องนำทำนองเพลงประกอบการแสดง นาฏศิลป์ไทยได้ นาฏศิลป์ไทยมีมีองค์ประกอบสำคัญ ๆ ต่อไปนี้

1 การฟ้อนรำ การฟ้อนรำ หรือ ลีลาท่าทาง เป็นท่าทางของการเยื้องกรายฟ้อนรำที่สวยงามโดยมีมนุษย์เป็นผู้ประดิษฐ์ท่ารำเหล่านั้นให้
ถูกต้องตามแบบแผน รวมทั้งบทบาทและลักษณะของตัวละคร ประเภทของการแสดง และการสื่อความหมายที่ชัดเจน

2 จังหวะ จังหวะเป็นส่วนย่อยของบทเพลงที่ดำเนินไปเป็นระยะและสม่ำเสมอ การฝึกหัดนาฏศิลป์ไทยจำเป็นต้องใช้จังหวะเป็นพื้นฐานในการฝึกหัด เพราะจังหวัดเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติและมีอยู่ในตัวมนุษย์ทุกคน หากผู้เรียนมีทักษะทางการฟังจังหวะแล้ว ก็จะสามารถรำได้สวยงาม แต่ถ้าผู้เรียนไม่เข้าใจจังหวะก็จะทำให้รำไม่ถูกจังหวะหรือเรียกว่าบอดจังหวะ ทำให้รำไม่สวยงามและไม่ถูกต้อง

3 เนื้อร้องและทำนองเพลง การแสดงลีลาท่ารำแต่ละครั้งจะต้องสอดคล้องตามเนื้อร้อง และทำนองเพลง ทั้งนี้เพื่อบอกความหมายของ
ท่ารำ ถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกในการแสดงได้ตามเนื้อเรื่อง ตลอดสามารถสื่อความหมายให้กับผู้ชมเข้าใจตรงกันได้

 

เครดิตข้อมูลดีๆจาก : http://www.lakornchatree.com