คุณค่าของนาฏศิลป์ไทย
5.1 เพื่อการสื่อสาร นาฏศิลป์ได้พัฒนาจากรูปลักษณ์ที่ง่าย และเป็นส่วนประกอบของคำพูดหรือวรรณศิลป์ ไปสู่การสร้างภาษาของตนเองขึ้นที่เรียกว่า “ภาษาท่า” โดยกำหนดกันในกลุ่มชนที่ใช้นาฏศิลป์นั้นๆ ว่าท่าใดมีความหมายอย่างไร
ภาพแสดงท่าทางโศกเศร้าเสียใจ ( ณิชชา ชันแสง 2548 )
5.2 เพื่องานพิธีกรรมต่าง ๆ ได้แก่ การฟ้อนรำเพื่อบูชาหรือบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ การรำแก้บน การฟ้อนรำอีกลักษณะหนึ่งเป็นการฟ้อนรำบูชาครู ไม่ได้แก้บนใด ๆ แต่เป็นการฟ้อนบูชาครู หรือเป็นพุทธบูชา เช่น การรำถวายมือในพิธีไหว้ครูนาฏศิลป์ไทย
การรำในพิธีไหว้ครูนาฏศิลป์ไทย (ณิชชา ชันแสง 2548)
5.3 เพื่องานพิธีการต่าง ๆ ได้แก่ พิธีการต้อนรับแขกเมืองสำคัญ พิธีแห่เทวรูปที่เคารพประจำปี เพื่อเป็นสิริมงคล พิธีฉลองงานสำคัญ เช่น งานวันเกิด งานวันครบรอบ
5.4 เพื่อความบันเทิงและการสังสรรค์ นาฏศิลป์ให้ความบันเทิง
แก่ผู้มาร่วมงานต่าง ๆ เช่น การรำอวยพรในวันเกิด ในงานรื่นเริงต่าง ๆ
5.5 เพื่อการออกกำลังกายและพัฒนาบุคลิกภาพ การฝึกหัดรำไทยต้องอาศัยกำลังในการฝึกซ้อมและ ในการแสดงอย่างมากเหมือนกับได้ออกกำลังกายอยู่ตลอดเวลา เป็นการกระตุ้นหรือบำบัดส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย ทำให้กระฉับกระเฉง ไม่เครียด เป็นการสร้างเสริมบุคลิกภาพและมีการทรงตัวที่สง่างามด้วย
5.6 เพื่อการอนุรักษ์และเผยแพร่ นาฏศิลป์เป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของชุมชน ในชุมชนหนึ่ง ๆ มักมีการสืบทอด และอนุรักษ์วัฒนธรรมทางนาฎศิลป์ของตนเอาไว้มิให้สูญหาย มีการสอนมีการแสดง และเผยแพร่นาฏศิลป์ไทยให้ท้องถิ่นอื่น หรือนำไปเผยแพร่ในต่างแดน
การรำในพิธีการ เพื่อความบันเทิง ออกกำลังกาย และ การอนุรักษ์เผยแพร่ ( ณิชชา ชันแสง 2548)
เครดิตข้อมูลดีๆจาก : http://www.lakornchatree.com