โขนโรงนอกหรือโขนนั่งราว

โขนโรงนอกหรือโขนนั่งราว

โขนนั่งราวหรือโขนโรงนอก  เป็นโขนที่จัดแสดงบนโรง ไม่มีเตียงสำหรับตัวนายโรงนั่ง มีราวพาดตามส่วนยาวของโรง ตรงหน้าฉากออกมามีช่องทางให้ผู้แสดงเดินได้รอบราวตัวโรงมีหลังคา เมื่อตัวโขนแสดงบทของตนแล้วก็ไปประจำบนราว สมมติเป็นเตียงหรือที่นั่งประจำตำแหน่ง ไม่มีบทขับร้อง มีแต่บทพากษ์และบทเจรจา ปี่พาทย์ก็บรรเลงแต่เพลงหน้าพาทย์ เพราะต้องบรรเลงเพลงหน้าพาทย์มากจึงใช้วงปี่พาทย์ 2 วง วงหนึ่งตั้งหัวโรง วงหนึ่งตั้งท้ายโรง หรือตั้งทางซ้ายและทางขวาของโรงจึงเรียกวงปี่พาทย์ 2 วงนี้ว่า “วงหัว” “วงท้าย” หรือ”วงซ้าย” “วงขวา”   จากจดหมายเหตุของ เดอ ลาลูแบร์ ที่กล่าวถึงการละเล่นบนเวทีในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีอยู่ 3 อย่าง คือ โขน ละคร ระบำ ทำให้สันนิฐานได้ว่าโขนในสมัยนั้นดีมีการปลูกโรงให้เล่นแล้ว และน่าจะเป็นลักษณะของโขนโรงนอกหรือโขนนั่งราวนี้เอง

โขนกลางแปลง

โขนกลางแปลง

เป็นการแสดงโขนในยุคแรกแสดงบนพื้นดินกลางสนามหญ้า ไม่ต้องสร้างโรงเล่น มีการแสดงในสมัยอยุธยาหลายครั้ง เพราะการแสดงโขนกลางแปลงเป็นโขนแบบแรกที่เกิดขึ้น นิยมแสดงแต่การยกทัพและรบกันระหว่างฝ่ายพระรามและฝ่ายทศกัณฐ์ โดยใช้ผู้แสดงเป็นพลยักษ์ และพลลิงจำนวนมาก ปี่พาทย์ที่บรรเลงประกอบการแสดงในสมัยกรุงศรีอยุธยามีเพียงวงที่เรียกว่า เครื่องห้า ต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์เพิ่มวงปี่พาทย์ให้มีสองวงเป็นอย่างน้อย ปลูกเป็นร้านยกขึ้นตั้งวงปี่พาทย์ เพื่อให้ผู้บรรเลงเห็นตัวโขนได้ในระยะไกล และมีความเป็นไปได้ว่าวงปี่พาทย์ที่บรรเลงประกอบการแสดงโขนกลางแปลงในอดีตน่าจะมีมากกว่าสองวง เมื่อตัวโขนเข้าไปใกล้วงไหนวงนั้นก็จะบรรเลง ส่วนการดำเนินเรื่องใช้เพียงการพากย์ เจรจาเท่านั้น ไม่มีการขับร้อง

โขน

โขน

         โขน เป็นศิลปะการแสดงอย่างหนึ่งของไทย มีประวัติที่เก่าแก่ยาวนานมาก เชื่อว่ามีความเก่าแก่อย่างน้อยย้อนไปถึงสมัยอยุธยามีการสันนิษฐานว่าเป็น การแสดงที่พัฒนามาจากการแสดงชักนาคดึกดำบรรพ์ กระบี่กระบอง และการแสดงหนังใหญ่ ดังนั้นการแสดงโขนจึงเป็นการรวมศิลปะการแสดงหลายชนิดเข้าด้วยกัน เป็นการแสดงที่อาศัยท่าเต้นเป็นการแสดงออกทางอารมณ์เป็นสำคัญ ตัวละครมีทั้งแบบสวมมงกุฎบนศีรษะ และสวมหน้ากาก โดยการแสดงเป็นเรื่องราว มีทั้งบทเจรจา และบทร้อง สำหรับเนื้อเรื่องที่นำมาแสดงโขนนั้นเดิมมีทั้งเรื่องอุณรุท และรามเกียรติ์ แต่ในปัจจุบันนิยมเล่นแต่เรื่องรามเกียรติ์เท่านั้น

 

วิวัฒนาการของโขน

การแสดงโขนในขั้นแรกน่าจะแสดงกลางสนามกว้าง ๆ เหมือนกับการแสดงชักนาคดึกดำบรรพ์ ต่อมาการแสดงก็เจริญก้าวหน้ามากขึ้น มีการปลูกโรงไว้ใช้แสดง จนมีฉากประกอบตามท้องเรื่อง จากนั้นโขนก็มีการวิวัฒนาการดัดแปลงการเล่นด้วยวิธีการต่าง ๆ เราจึงเรียกแยกประเภทของโขนตามลักษณะการแสดงนั้น ๆ ได้แก่

โขนกลางแปลง

โขนโรงนอก หรือโขนนั่งราว

โขนหน้าจอ

โขนโรงใน

โขนฉาก

โขนชักรอก

ประเภทของนาฏศิลป์ไทย

ประเภทของนาฏศิลป์ไทย

นาฏศิลป์ของไทย แบ่งออกตามลักษณะของรูปแบบการแสดง เป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ 4 ประเภท คือ

โขน
ละคร
รำและระบำ
การแสดงพื้นเมือง

คุณค่าของนาฏศิลป์ไทย

คุณค่าของนาฏศิลป์ไทย

5.1 เพื่อการสื่อสาร นาฏศิลป์ได้พัฒนาจากรูปลักษณ์ที่ง่าย และเป็นส่วนประกอบของคำพูดหรือวรรณศิลป์ ไปสู่การสร้างภาษาของตนเองขึ้นที่เรียกว่า “ภาษาท่า” โดยกำหนดกันในกลุ่มชนที่ใช้นาฏศิลป์นั้นๆ ว่าท่าใดมีความหมายอย่างไร

ช่างรำ-ภาพแสดงท่าทางโศกเศร้าเสียใจ

ภาพแสดงท่าทางโศกเศร้าเสียใจ  ( ณิชชา ชันแสง 2548 )

5.2 เพื่องานพิธีกรรมต่าง ๆ ได้แก่ การฟ้อนรำเพื่อบูชาหรือบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ การรำแก้บน การฟ้อนรำอีกลักษณะหนึ่งเป็นการฟ้อนรำบูชาครู ไม่ได้แก้บนใด ๆ แต่เป็นการฟ้อนบูชาครู หรือเป็นพุทธบูชา เช่น การรำถวายมือในพิธีไหว้ครูนาฏศิลป์ไทย

ช่างรำ-การรำในพิธีไหว้ครูนาฏศิลป์ไทย

การรำในพิธีไหว้ครูนาฏศิลป์ไทย (ณิชชา ชันแสง 2548)

5.3 เพื่องานพิธีการต่าง ๆ ได้แก่ พิธีการต้อนรับแขกเมืองสำคัญ พิธีแห่เทวรูปที่เคารพประจำปี เพื่อเป็นสิริมงคล พิธีฉลองงานสำคัญ เช่น งานวันเกิด งานวันครบรอบ

5.4 เพื่อความบันเทิงและการสังสรรค์ นาฏศิลป์ให้ความบันเทิง
แก่ผู้มาร่วมงานต่าง ๆ เช่น การรำอวยพรในวันเกิด ในงานรื่นเริงต่าง ๆ

5.5 เพื่อการออกกำลังกายและพัฒนาบุคลิกภาพ การฝึกหัดรำไทยต้องอาศัยกำลังในการฝึกซ้อมและ ในการแสดงอย่างมากเหมือนกับได้ออกกำลังกายอยู่ตลอดเวลา เป็นการกระตุ้นหรือบำบัดส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย ทำให้กระฉับกระเฉง ไม่เครียด เป็นการสร้างเสริมบุคลิกภาพและมีการทรงตัวที่สง่างามด้วย

5.6 เพื่อการอนุรักษ์และเผยแพร่ นาฏศิลป์เป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของชุมชน ในชุมชนหนึ่ง ๆ มักมีการสืบทอด และอนุรักษ์วัฒนธรรมทางนาฎศิลป์ของตนเอาไว้มิให้สูญหาย มีการสอนมีการแสดง และเผยแพร่นาฏศิลป์ไทยให้ท้องถิ่นอื่น หรือนำไปเผยแพร่ในต่างแดน

ช่างรำ-การรำในพิธีการ เพื่อความบันเทิง ออกกำลังกาย และ การอนุรักษ์เผยแพร่

การรำในพิธีการ เพื่อความบันเทิง ออกกำลังกาย และ การอนุรักษ์เผยแพร่  ( ณิชชา ชันแสง 2548)

เครดิตข้อมูลดีๆจาก : http://www.lakornchatree.com

ลักษณะของความเป็นไทยในนาฏศิลป์

ลักษณะของความเป็นไทยในนาฏศิลป์ ได้แก่

1.ท่ารำอันอ่อนช้อยงดงาม และแสดงอารมณ์ตามลักษณะที่แท้จริงของคนไทยมีความหมายอย่างกว้างขวาง

2.มีดนตรีประกอบ ดนตรีประกอบจะแทรกอารมณ์ หรือรำกับเพลงที่มีแต่ทำนองก็ได้ หรือมีเนื้อร้องและให้ท่ารำไปตามเนื้อร้องนั้น ๆ

3.คำร้องหรือเนื้อร้องเป็นคำประพันธ์ ส่วนบทจะเป็นกลอนแปด ซึ่งจะนำไปร้องกับเพลงชั้นเดียว หรือเพลง 2 ชั้นได้ทุกเพลง ทำให้กำหนดท่ารำไปตามเนื้อร้องได้

4.เครื่องแต่งกาย ละครไทยแตกต่างกับเครื่องแต่งกายละครของชาติอื่น มีแบบอย่างของตนโดยเฉพาะ ขนาดยืดหยุ่นได้ตามสมควร เครื่องแต่งกายบางประเภท เช่น เครื่องแต่งกายยืนเครื่อง ซึ่งต้องใช้วิธีตรึงด้วยด้าย แทนการเย็บสำเร็จรูป

 

เครดิตข้อมูลดีๆจาก : http://www.lakornchatree.com

องค์ประกอบของนาฏศิลป์ไทย

องค์ประกอบของนาฏศิลป์ไทย

นาฏศิลป์ไทย ประกอบด้วย ศิลปะหลาย ๆ แขนง ทั้ง ศิลปะการร้องเพลง การบรรเลงดนตรี และ การฟ้อนรำ ที่ต้องอาศัยบทร้องนำทำนองเพลงประกอบการแสดง นาฏศิลป์ไทยได้ นาฏศิลป์ไทยมีมีองค์ประกอบสำคัญ ๆ ต่อไปนี้

1 การฟ้อนรำ การฟ้อนรำ หรือ ลีลาท่าทาง เป็นท่าทางของการเยื้องกรายฟ้อนรำที่สวยงามโดยมีมนุษย์เป็นผู้ประดิษฐ์ท่ารำเหล่านั้นให้
ถูกต้องตามแบบแผน รวมทั้งบทบาทและลักษณะของตัวละคร ประเภทของการแสดง และการสื่อความหมายที่ชัดเจน

2 จังหวะ จังหวะเป็นส่วนย่อยของบทเพลงที่ดำเนินไปเป็นระยะและสม่ำเสมอ การฝึกหัดนาฏศิลป์ไทยจำเป็นต้องใช้จังหวะเป็นพื้นฐานในการฝึกหัด เพราะจังหวัดเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติและมีอยู่ในตัวมนุษย์ทุกคน หากผู้เรียนมีทักษะทางการฟังจังหวะแล้ว ก็จะสามารถรำได้สวยงาม แต่ถ้าผู้เรียนไม่เข้าใจจังหวะก็จะทำให้รำไม่ถูกจังหวะหรือเรียกว่าบอดจังหวะ ทำให้รำไม่สวยงามและไม่ถูกต้อง

3 เนื้อร้องและทำนองเพลง การแสดงลีลาท่ารำแต่ละครั้งจะต้องสอดคล้องตามเนื้อร้อง และทำนองเพลง ทั้งนี้เพื่อบอกความหมายของ
ท่ารำ ถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกในการแสดงได้ตามเนื้อเรื่อง ตลอดสามารถสื่อความหมายให้กับผู้ชมเข้าใจตรงกันได้

 

เครดิตข้อมูลดีๆจาก : http://www.lakornchatree.com

ที่มาของนาฏศิลป์ไทย

ที่มาของนาฏศิลป์ไทย

สันนิษฐานว่านาฏศิลป์ไทยกำเนิดมาพร้อม ๆ กับความเป็นชนชาติไทย ที่เป็นเช่นนี้เพราะนาฏศิลป์ไทยเป็นส่วนหนึ่งที่บ่งบอกวิถีชีวิตความเป็นอยู่ การแต่งกาย และคติความเชื่อของคนไทยในอดีตถึงปัจจุบัน ทั้งนี้อาจสรุปได้ว่า นาฏศิลป์ไทยน่าจะมีที่มาจาก 4 แหล่ง ดังนี้

 

ช่างรำ-ที่มาของนาฏศิลป์

 

1 จากการละเล่นของชาวบ้านในท้องถิ่น หลังจากเสร็จสิ้นภารกิจในแต่ละวัน ชาวบ้านมักหาเวลาว่างมาร่วมร้องรำทำเพลง โดยมีการนำเอาดนตรีมาประกอบด้วย และ ตามนิสัยของคนไทยที่เป็นคนเจ้าบทเจ้ากลอน ชอบร้องรำทำเพลงโต้ตอบระว่างชายหญิงจนเกิดเป็นพ่อเพลง แม่เพลงขึ้น โดยมีลูกคู่คอยร้องรับกันเป็นที่สนุกสนานครื้นเครง ทั้งนี้อาจจะเป็นกุศโลบายอย่างหนึ่งที่มีส่วนช่วยให้ลืมความเหน็ดเหนื่อยจากการทำงานในแต่ละวัน นอกจากนี้ยังมีการร้องรำกันเป็นคู่ชายหญิงเดินเป็นวง หรือเป็นที่รู้จักกันว่ารำโทนหรือรำวงพื้นบ้านจากการละเล่นของชาวบ้านดังกล่าวเป็นสาเหตุให้เกิดการแสดงนาฏศิลป์ไทยประการหนึ่ง

ช่างรำ-รำวงของคนไทยในสมัยโบราณ

รำวงของคนไทยในสมัยโบราณ ( http://www.guru.sanook.com 2549 )

2 จากการแสดงเป็นแบบแผน นาฏศิลป์ไทยที่เป็นมาตรฐานเป็นนาฏศิลป์ที่มีการปลูกฝังและถ่ายทอดมาจากปรมาจารย์ทางนาฏศิลป์ไทยในวังหลวง ที่ฝึกให้แก่ผู้หญิงและผู้ชายที่อยู่ในวังเป็นผู้แสดงโขนและละคร เพื่อแสดงในโอกาสต่าง ๆ

ช่างรำ-การแสดงละครในในสมัยโบราณ

การแสดงละครในในสมัยโบราณ  ( http://www.arunsawat.com 2549 )

3 จากการรับอารยธรรมของอินเดีย ประเทศอินเดียเป็นประเทศที่มีอารยธรรมเก่าแก่และเจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่โบราณกาล โดยเฉพาะละครในอินเดียรุ่งเรืองมาก ประกอบกับชนชาติอินเดียที่นับถือและเชื่อมั่นในศาสนา พระผู้เป็นเจ้า ตลอดจนสิ่งศักดิ์สิทธ์ต่าง ๆ พระผู้เป็นเจ้าที่ชาวอินเดียนับถือ ได้แก่ พระศิวะ(พระอิศวร) พระวิษณุ และพระพรหม ในบางยุคของชาวอินเดียถือว่า พระอิศวรเป็นเทพเจ้าที่มีผู้เคารพนับถือมากยุคนี้ถือว่าพระอิศวรทรงเป็นนาฏราช(ราชาแห่งการร่ายรำ) มีประวัติทั้งในสวรรค์และในเมืองมนุษย์ ในการร่ายรำของพระอิศวรแต่ละครั้ง พระองค์ทรงให้พระภรตฤาษีเป็นผู้บันทึกท่ารำแล้วนำมาสั่งสอนแก่เหล่ามนุษย์ จนเป็นที่มาของตำนานการฟ้อนรำ และในการเรียนนาฏศิลป์ไทยผู้เรียนทุกคนจะต้องเข้าพิธีไหว้ครูโขน – ละครก่อน ซึ่งได้แก่ พระอิศวร พระนารายณ์ พระพรหม พระพิราพ และพระภรตฤาษี อันเป็นครูทางนาฏศิลป์และเป็นเทพเจ้าของศาสนาพราหมณ์ และ ศาสนาฮินดู

4 จากการเลียนแบบธรรมชาติ กิริยาท่าทางตามธรรมชาติของมนุษย์จะบ่งบอกความหมายและสื่อความหมายกับผู้อื่นได้ควบคู่กับการพูด ในการฟ้อนรำก็จะใช้ท่ารำสื่อความหมายกับผู้ชมเช่นเดียวกัน จะเห็นได้ว่า การแสดงบางชุดไม่มีเนื้อเพลง แต่มีทำนองเพลงอย่างเดียวผู้แสดงก็จะฟ้อนรำไปตามทำนองเพลงนั้น ๆ ลีลาท่ารำเป็นท่าทางธรรมชาติที่ใช้สื่อความหมาย ด้วยเหตุผลที่ว่าต้องการให้ผู้ชมเข้าใจความหมายในการรำ และใช้ท่ารำในการดำเนินเรื่องด้วย ถึงแม้ว่าท่ารำส่วนใหญ่จะมีลีลาสวยงามวิจิตรกว่าท่าทางธรรมชาติไปบ้าง แต่ก็็ยังคงใช้ท่าทางธรรมชาติเป็นพื้นฐานในการประดิษฐ์ท่ารำและเลือกใช้ได้อย่างเหมาะสมบ่งบอกความหมายได้ถูกต้อง

ช่างรำ-การเลียนแบบธรรมชาติของมนุษย์มาปรับปรุงให้เป็นท่านาฏศิลป์

การเลียนแบบธรรมชาติของมนุษย์มาปรับปรุงให้เป็นท่านาฏศิลป์ให้ดูสวยงาม

ในการแสดงชุด กราวเงาะ ( ณิชชา ชันแสง 2548 )

ช่างรำ-การเลียนแบบท่าทางตามธรรมชาติของกวาง

การเลียนแบบท่าทางตามธรรมชาติของกวาง ( ณิชชา ชันแสง 2548 )

เครดิตข้อมูลดีๆจาก : http://www.lakornchatree.com

 

 

ประวัตินาฏศิลป์ไทย

ประวัตินาฏศิลป์ไทย

        นาฏศิลป์  เป็นศิลปะแห่งการละคร ฟ้อนรำ และดนตรี   อันมีคุณสมบัติตามคัมภีร์นาฏะหรือ นาฏยะ กำหนดว่า ต้องประกอบไปด้วยศิลปะ 3 ประการ คือ การฟ้อนรำ การดนตรี และการขับร้อง รวมเข้าด้วยกัน ซึ่งทั้ง 3 สิ่งนี้เป็นกิจกรรมของคนมาแต่ดึกดำบรรพ์ นาฏศิลป์ไทยมีที่มาและเกิดขึ้นจากสาเหตุตามแนวคิดต่างๆ  เช่น  เกิดจากความรู้สึกกระทบกระเทือนทางอารมณ์ ไม่ว่าจะอารมณ์แห่งความสุข หรือความทุกข์ แล้วสะท้อนออกมาเป็นท่าทางแบบธรรมชาติและประดิษฐ์ขึ้นเป็นท่าทางลีลาการฟ้อนรำ   หรือเกิดจากลัทธิความเชื่อในการนับถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เทพเจ้า โดยแสดงความเคารพบูชาด้วยการเต้นรำ ขับร้อง ฟ้อนรำให้เกิดความพึงพอใจ เป็นต้นนอกจากนี้นาฏศิลป์ไทย ยังได้รับอิทธิพลแบบแผนตามแนวคิดจากต่างชาติเข้ามาผสมผสานด้วย เช่น วัฒนธรรมอินเดียเกี่ยวกับวรรณกรรมที่เป็นเรื่องของเทพเจ้า และตำนานการฟ้อนรำโดยผ่านเข้าสู่ประเทศไทยทั้งทางตรงและทางอ้อม คือผ่านชนชาติชวาและเขมร ก่อนที่จะนำมาปรับปรุงให้เป็นรูปแบบตามเอกลักษณ์ของไทย เช่น ตัวอย่างของเทวรูปศิวะปางนาฏราช ที่สร้างเป็นท่าการร่ายรำของพระอิศวร ซึ่งมีทั้งหมด 108 ท่า หรือ 108 กรณะ โดยทรงฟ้อนรำครั้งแรกในโลก ณ ตำบลจิทรัมพรัม เมืองมัทราส อินเดียใต้ ปัจจุบันอยู่ในรัฐทมิฬนาดู นับเป็นคัมภีร์สำหรับการฟ้อนรำ แต่งโดยพระภรตมุนี เรียกว่าคัมภีร์ภรตนาฏยศาสตร์ ถือเป็นอิทธิพลสำคัญต่อแบบแผนการสืบสานและถ่ายทอดนาฏศิลป์ของไทยจนเกิดขึ้น เป็นเอกลักษณ์ของตนเองที่มีรูปแบบ แบบแผนการเรียน การฝึกหัด จารีต ขนบธรรมเนียม มาจนถึงปัจจุบัน

        อย่างไรก็ตาม บรรดาผู้เชี่ยวชาญที่ศึกษาทางด้านนาฏศิลป์ไทยได้สันนิษฐานว่า อารยธรรมทางศิลปะด้านนาฏศิลป์ของอินเดียนี้ ได้เผยแพร่เข้ามาสู่ประเทศไทยตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตามประวัติการสร้าง เทวาลัยศิวะนาฏราชที่สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 1800 ซึ่งเป็นระยะที่ไทยเริ่มก่อตั้งกรุงสุโขทัย ดังนั้นท่ารำไทยที่ดัดแปลงมาจากอินเดียในครั้งแรกจึงเป็นความคิดของนัก ปราชญ์ในสมัยกรุงศรีอยุธยา และมีการแก้ไขปรับปรุงหรือประดิษฐ์ขึ้นใหม่ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ จนนำมาสู่การประดิษฐ์ท่าทางร่ายรำและละครไทยมาจนถึงปัจจุบัน

เครดิตข้อมูลดีๆจาก : http://www.lakornchatree.com

ช่างรำ!!

ติดต่อ

ที่อยู่ :  ปิ่นเกล้า แขวงศิริราช
เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ 10700 ประเทศไทย

โทรศัพท์ : 062-491-6466

E-mail : changrum_thai@hotmail.com , ganpitchar@hotmail.com

Facebook : https://www.facebook.com/pages/ช่างรำ/131591660277138

Line : Noojang2004